ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ Jureerat

บทที่ 2

1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้

 Hardware หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถ จับต้องหรือสัมผัสได้ เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด จอภาพ และอื่น ๆ แบ่งออกเป็น 4 หน่วยสา คัญ คือ
1. หน่วยรับเข้า (Input Unit) ทำหน้าที่ในการรับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลเข้า เช่น คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) จอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode) เป็นต้น


                                                                  
รูปที่1.1 หน่วยรับเข้า (Input Unit)
 
2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU หรือ Central Processing Unit) ทำหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม หน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย ได้แก่
       2.1 หน่วยคำนวณ (ALU หรือ Arithmetic and Logical Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประมวลผลโดยใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ หรือทำหน้าที่ประมวลผลทางตรรกะ รวมทั้งทำหน้าที่ในการเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ อีกด้วย
      2.2 หน่วยประมวลข้อมูลชั่วคราว (Register) เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ทำหน้าที่ เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะถูกนำไปประมวลผล
      2.3 หน่วยควบคุม (CU หรือ Control Unit) เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทำหน้าที่กำหนดจังหวะการทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
 
 
 
รูปที่ 1.2 หน่วยประมวลผลกลาง
 
3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจาก หน่วยรับเข้า เพื่อเตรียมส่งออกให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้ จากการประมวลผล แล้วเตรียมส่งออกหน่วยส่งออกต่อไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
      3.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หน่วยความจำหลักเป็นที่เก็บคำสั่งและ ข้อมูลชั่วคราวในคอมพิวเตอร์

 
รูปที่ 1.3 หน่วยความจำหลัก
 
3.2 หน่วยความจา รอง (Secondary Storage) หน่วยความจำสำรองทำหน้าที่ในการเก็บ ข้อมูลและโปรแกรม ซึ่งจะต่างจากหน่วยความจำหลักที่หน่วยความจำสำรองจะเก็บข้อมูลแบบ ถาวร กล่าวคือ โปรแกรมและข้อมูลจะไม่สูญหายหากมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
                                      
 
รูปที่ 1.4 หน่วยความจำรอง


4. หน่วยส่งออก (Output Unit) เป็นหน่วยที่ใช้สำหรับการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการ ประมวลผล อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ (Monitor) พริ้นเตอร์ (Printer) โปรเจคเตอร์ (Projector) เป็นต้น
   
                                          รูปที่ 1.5 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หน่วยแสดงผลข้อมูล

นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ก็ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่ แผงวงจรหลัก (Main Board) ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Interface) อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data Communication Device) MODEM (Modulation - Demodulation) LAN Card, Sound Card, ยูพีเอส (UPS) เป็นต้น

Software คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Hardware กับผู้ใช้ให้สามารถสื่อสารกันได้ โดยพื้นฐานทางซอฟต์แวร์สามารถ แบ่งออกเป็นซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
 
รูปที่ 1.6 โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง

 
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของ คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยซอฟต์แวร์ระบบยังแบ่ง ออกเป็น
 
1. ระบบปฏิบัติการ (Operation System) เป็นโปรแกรมที่สำคัญมาก ทำหน้าที่ควบคุม การทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด รวมถึงประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์และทรัพยากร ต่าง ๆ ในระบบให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่ต้องการ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) แมคอินทอชโอเอส

 
รูปที่ 1.7 ระบบปฏิบัติการดอส (DOS)

 
รูปที่ 1.8 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)


รูปที่ 1.9 แมคอินทอชโอเอส (Macintosh Operating System)

 
รูปที่ 1.10 ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux)
 
2. ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator Program) เป็นตัวแปลโปรแกรมภาษา ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยตัวแปลภาษายังแบ่งออกเป็นคอมไฟเลอร์ (Compiler) ซึ่งจะแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรม หากมีที่ผิดพลาดต้องแก้ไขจนถูกต้องและทำ การคอมไพล์ใหม่ ส่วนตัวแปลภาษาอีกตัวหนึ่ง คือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ซึ่งจะแปลทีละ บรรทัด หากบรรทัดใดมีข้อผิดพลาดก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมา
3. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่สร้างความสะดวกต่อ การใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งมักเรียกว่า โปรแกรมยูทิลิตี้ จัดเป็นชนิดหนึ่งของโปรแกรมระบบ ซึ่งใน ปัจจุบันระบบปฏิบัติการหลายชนิดได้มีการผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้หลายโปรแกรมด้วยกันมา พร้อมกับชุดระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะมีโปรแกรมยูทิลิตี้เช่น โปรแกรม ScanDisk, โปรแกรม Disk Defragmenter และรวมถึงโปรแกรมป้องกันไวรัสอย่าง Norton Utility หรือ McAfee Antivirus เป็นต้น
 
4. โปรแกรมประยุกต์และโปรแกรมสาเร็จรูป (Application and Package Program)
    4.1 โปรแกรมประยุกต์ คือ โปรแกรมที่ได้มีการพัฒนาหรือเขียนขึ้นเพื่อใช้งานใด งานหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ โปรแกรมการคำนวณเงินเดือนพนักงาน โปรแกรมเก็บสินค้าคงคลัง โปรแกรมประเภทนี้ผู้ใช้ต้องจัดหาเอง ซึ่งอาจเขียนเองหรือให้บริษัทที่รับจ้างเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะทำ การเขียน หรืออาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีในท้องตลาดมาใช้
    4.2 โปรแกรมสาเร็จรูป เป็นโปรแกรมที่จัดทำ ขึ้นเฉพาะงานใดงานหนึ่ง จึงจัดว่าเป็น Application Program อย่างหนึ่ง นิยมใช้จากบริษัทผู้ผลิตมากกว่าเขียนขึ้นเอง ซึ่ง Software นี้จะ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
 
 ซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูล(Data Base Management Software) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเก็บหมวดหมู่และนำออกมาใช้งานภายหลังโปรแกรมที่ใช้กันแพร่หลายคือMS SQL SERVER, MY SQL, Oracle, Microsoft Access เป็นต้น
 
 
 ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์รายงาน(Word Processing Software) เป็นSoftware จัดพิมพ์รายงานและจดหมายจัดข้อความกำหนดบรรทัดเช่นMicrosoft Word, Word Star, Note Pad เป็นต้น
 
 ซอฟต์แวร์ใช้ในการคำนวณ(Calculating Software) ใช้ในการคำนวณและพิมพ์ผลของงานในลักษณะของตารางและกราฟต่างๆได้สะดวกรวดเร็วและสามารถพิมพ์ผลรวมได้เป็นคอลัมน์หรือแถวเช่นLotus 1 – 2 – 3, Microsoft Excel เป็นต้น
โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์แบบต่าง ๆ เช่น แผ่นโปสเตอร์ แบบฟอร์มต่าง ๆ โบร์ชัวร์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Publisher, Adobe PageMaker, Corel Draw, Adobe InDesign เป็นต้น
โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในงานด้านกราฟิก (Graphic Software) ใช้ในการ สร้างภาพ ตกแต่งภาพ เช่น Adobe PhotoShop, VISIO, Microsoft Paintbrush (Paint), Freehand เป็นต้น
โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในงานประมวลผลทางสถิติ (Statistical Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ประมวลผลหาค่าทางสถิติต่าง ๆ เช่น SPSS For Windows เป็นต้น                                                            

ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (Business Software) ใช้ในงานธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมจัดระบบบัญชี โปรแกรมบัญชีลูกหนี้โปรแกรมบัญชีเจ้าหนี้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)

บุคคล  หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยบุคลากรทาง คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งแยกตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ผู้บริหารสารสนเทศ (Chief Information Officer) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร
2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Design) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ ศึกษาปัญหาและหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบ และออกแบบระบบงานเพื่อส่งให้โปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไว้
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมตามนักวิเคราะห์ระบบที่ได้ออกแบบไว้
4. ผู้บริหารฐานข้อมูล (DBA : Database Administrator) เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านฐานข้อมูล สามารถทำการออกแบบพัฒนาตารางข้อมูลต่าง ๆ การออกแบบฟอร์ม คิวรี (Queries) และรายงานต่าง ๆ เพื่อใช้ในหน่วยงานรวมถึงการใช้ชุดคา สั่งภาษา SQL ในการจัดการ กับฐานข้อมูล และหากฐานข้อมูลเกิดข้อขัดข้องประการใด ก็จะต้องมีทักษะและความสามารถใน การจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้
5. เว็บมาสเตอร์ (Web Masters) เป็นบุคคลที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต การเขียนโฮมเพจ และมีความรู้เกี่ยวกับภาษาจาวา และคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถใช้เครื่องมือ และโปรแกรมทางกราฟิกคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี รวมถึงความสามารถในการออกแบบและ พัฒนาเว็บไซต์
6. ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Technicians) เป็นบุคคลที่มีความรู้ทาง ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ สามารถแก้ไขปัญหาทางฮาร์ดแวร์ให้สามารถใช้งานได้ สามารถอัพเกรด คอมพิวเตอร์ บำรุงรักษาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย
7. ผู้ใช้งาน (End User) เป็นบุคคลหรือผู้ใช้งานปลายทางที่ปฏิบัติการกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ เช่น การกรอกข้อมูล การเตรียมข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล และสั่งพิมพ์รายงานส่ง ให้กับฝ่ายบริหารใช้ประโยชน์ต่อไป ผู้ใช้งานจะเป็นผู้ใช้งานโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์เป็น ผู้เขียน จะต้องเข้าใจลำดับการทำงานของเมนูต่าง ๆ เป็นอย่างดี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานเหล่านี้จะสามารถใช้ระบบงานได้อย่างคล่องแคล่วและสมบูรณ์ ด้วยการผ่านการฝึกอบรมจากโปรแกรมเมอร์หรือครูผู้ฝึกอบรม

ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้น ตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมจะต้องนำมาประมวลผล เพื่อให้ได้ สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือที่ ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด

                                                       รูปที่ 1.11 แสดงข้อมูลและสารสนเทศ
 
1. ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น
2. สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการ วิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง
 
                     ข้อมูล (Data)              สารสนเทศ (Information)

  • คะแนนสอบวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน

  • ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือวังอักษร

  • คำตอบจากแบบสอบถาม

  • ยอดขายหนังสือประจำปี

 

  •  เกรดเฉลี่ยของวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน

  • ราคาขายสูงสุดและต่าสุดของหนังสือในร้านหนังสือวังอักษร

  • ข้อสรุปจากแบบสอบถาม

  •  การประมาณการขายของปีถัดไป
 
  
2.ให้นักศึกษาแสดงข้อมูลจำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปของระบบสารสนเทศ

 -แสดงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนพนักงานบริษัทวรรณกิจเจริญ(2000) จำกัด

แผนก
จำนวน/คน
บัญชี
5
จัดซื้อ
6
แคชเชียร์
28
ขาย 1
10
ขาย 2
40
ประชาสัมพันธ์
3
โกดัง
8
ตรวจนับ
5
แม่บ้าน,รปภ.
6
บริการ
31
 
 
 
















 

 

 

 




 


 
 

 



 




 


 


 
 


 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น